เกี่ยวกับเรา

คณะทำงานประกอบด้วย

ภก.คณัฐวุฒิ หลวงเทพ

หัวหน้างานโครงการวิจัย
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ภก.ประดิษฐ์ โคตรสังข์

ผู้ร่วมโครงการวิจัย
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
จังหวัดอุบลราชธานี

ภก.ภาณุ คำวงษ์

ผู้ร่วมโครงการวิจัย
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
จังหวัดอุบลราชธานี

ภญ.ปวิชยา สีมาวงษ์

ผู้ร่วมโครงการวิจัย
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
จังหวัดอุบลราชธานี

ภญ.อัจฉราภรณ์ ลุยตัน

ผู้ร่วมโครงการวิจัย
เภสัชกรโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้ช่วยเก็บข้อมูลงานวิจัย

  • นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 20 จำนวน 81 คน
<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/KIKCRHPBJKs" frameborder="0" allow="autoplay; encrypted-media" allowfullscreen></iframe>

การลงApplication สำหรับการเก็บข้อมูลงานวิจัย

      Drug Survey เป็น Application ที่รองรับทั้งในระบบ iOS และ Android สามารถติดตั้งได้ในมือถือสมาร์ทโฟน ดังวิธีด้านล่างนี้เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลรูปภาพ และข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในการพิสูจน์เอกลักษณ์ยา นอกจากนี้ Application นี้ยังสามารถแสดงผลได้ในเว็บบราวเซอร์ทั่วไปในคอมพิวเตอร์ได้ ในกรณีที่ผู้เก็บข้อมูลไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Application นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกผู้เก็บข้อมูลได้ไม่มากก็น้อย หากผู้เก็บข้อมูลมีข้อสงสัย หรือข้อเสนอแนะสามารถติดต่อผู้ทำวิจัยได้ที่ Facebook:

ลง Application สำหรับการเก็บข้อมูลในระบบ Android และ iOS

  1. หน้าแรกหลังจากเข้าระบบ จะมีข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ทั้งหมดแสดงในหน้าจอนี้

2. เมื่อกดที่ Gallery จะพบรูปภาพทั้งหมดที่ถูกอัพโหลดไว้แล้วโดยผู้กรอกข้อมูลอื่นๆ

3. เมื่อกดเครื่องหมาย + ที่มุมล่างขวาจะเป็นการเพิ่มข้อมูลเม็ดยาที่เราต้องการลงในระบบ โดยจะต้องใช้กระดาษสำหรับเก็บข้อมูลโดยดาวน์โหลดได้ที่นี่

  • Picture : ให้กดที่เครื่องหมายกล้องถ่ายรูปเพื่อทำการถ่ายรูปเม็ดยา โดยต้องใช้เม็ดยา 2 เม็ด หันด้านหน้าและด้านหลังให้เห็นในรูปเดียวกัน
  • Brand name : ชื่อการค้า
  • Generic name : ชื่อสามัญ
  • ความแรง: ให้ระบุหน่วยมิลลิกรัม ใส่เฉพาะตัวเลขเท่านั้น
  • ความยาว : ให้วัดความยาวด้านที่ยาวที่สุดของเม็ดยา ในหน่วยมิลลิเมตร ใส่เฉพาะตัวเลขเท่านั้น โดยกดที่เครื่องหมาย + และ –

4. ส่วนประกอบอื่นๆของ Application

  • ขีด :  ให้ใส่ตัวเลขเท่านั้นโดย 1 = ไม่มีขีด, 2 = มีขีดหนึ่งขีด, 3=ขีดกากบาทหรือสองขีด
  • จำนวนสี : ให้ใส่ตัวเลขจำนวนสี หากมี 1 สีให้ใส่ 1, หากมี 2 สีให้ใส่ 2 เป็นต้น
  • สีที่ 1 : ให้เลือกสีที่พบ โดยเลือกสีใดก่อนหลังก็ได้

5. ส่วนประกอบอื่นๆของ Application

  • สีที่ 2 และ3 : ให้เลือกใส่สีอื่นๆหากเม็ดยามีหลายสี หากไม่มีไม่ต้องเติม
  • รูปร่าง : ให้ใส่ตัวเลขแทนรูปร่างของเม็ดยา โดย 1=วงกลม, 2=แคปซูล,3=วงรี,4=หัวท้ายมน,5=ขนมเปียกปูน,6=สี่เหลี่ยมจตุรัส,7=สามเหลี่ยม,8=หกเหลี่ยม,9=ห้าเหลี่ยม,10=หัวใจ,11=อื่นๆ

6. ส่วนประกอบอื่นๆของ Application

  • อักษรที่ปรากฎบนเม็ดยา : ใส่ข้อความที่ปรากฎบนเม็ดยา หากไม่มีเว้นว่าง

7.  ส่วนประกอบอื่นๆของ Application

  • ชื่อบริษัทผู้ผลิต : ให้กรอกชื่อบริษัทยานั้นๆ
  • ผู้ลงข้อมูล : ให้กรอกชื่อของผู้กรอกข้อมูล หรือรหัสนักศึกษา
  • กด Save เพื่อบันทึกข้อมูลทุกครั้ง

รูปแบบการเก็บข้อมูลประกอบด้วย

1. ชื่อการค้า (Brand name)

2. ชื่อสามัญ (Generic name)

3. ความยาวของเม็ดยา ในหน่วยมิลลิเมตร (mm) : โดยวัดจากด้านที่ยาวที่สุดของเม็ดยา

4. รอยบาก

5. จำนวนสี

6. สีที่ 1 ,2,3

 

7. รูปร่างของยาเม็ด ประกอบด้วย

8. อักษรที่ปรากฎบนเม็ดยา